วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

สิ่งแวดล้อม

  สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น สิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม สิ่งที่เห็นได้ด้วยตาและไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ (เกษม, 2540) จากคำจำกัดความดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า สิ่งแวดล้อม คือ สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา แต่ คำว่า "ตัวเรา" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตัวมนุษย์เราเท่านั้น โดยความเป็นจริงแล้ว ตัวเรานั้นเป็นอะไรก็ได้ที่ต้องการศึกษา/รู้ เช่น ตัวเราอาจจะเป็นดิน ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมดิน หรืออาจจะเป็นน้ำ ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีข้อสงสัยว่า สิ่งที่อยู่รอบตัวเรามีรัศมีจำกัดมากน้อยเพียงใด ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าสิ่งต่างที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ไม่ได้มีขอบเขตจำกัด มันอาจอยู่ใกล้หรือไกลตัวเราก็ได้ จะมีบทบาทหรือมีส่วนได้ส่วนเสียต่อตัวเราอย่างไรนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งนั้นๆ เช่น โศกนาฏกรรมตึกเวิร์ดเทรด ซึ่งตัวมันอยู่ถึงสหรัฐอเมริกา แต่มีผลถึงประเทศไทยได้ในเรื่องของเศรษกิจ เป็นต้น

ภาพ:สิ่งแวดล้อม.JPG

[แก้ไข] ประเภทของสิ่งแวดล้อม

        จากความหมายของสิ่งแวดล้อมดังกล่าวสามารถแบ่งสิ่งแวดล้อมได้เป็น 2 ประเภท คือ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural environment) และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Mode Environment)

[แก้ไข] 1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ( Natural Environment)

        แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย คือ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต) และสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต
        1. 1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) แบ่งได้ดังนี้
        1.1.1 บรรยากาศ (Atmosphere) หมายถึงอากาศที่ห่อหุ้มโลก ประกอบด้วย กา๙ชนิดต่างๆ เช่น โอโซน ไนโตรเจน ออกซิเจน อาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์ ฝุ่นละออง และไอน้ำ
        1.1.2 อุทกภาค (Hydrosphere) หมายถึงส่วนที่เป็นน้ำทั้งหมดของพื้นผิวโลก ได้แก่ มหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ ฯลฯ
        1.1.3 ธรณีภาค หรือ เปลือกโลก(Lithosphere) หมายถึง ส่วนของโลกที่เป็นของแข็งห่อหุ้มอยู่รอบนอกสุด ของโลกประกอบด้วยหินและดิน

ภาพ:สิ่งแวดล้อม1.JPG
        1.2 สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต (Biotic Environment) ได้แก่ พืช สัตว์ และมนุษย์

[แก้ไข] 2 . สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น(Man-Mode Environment)

        แบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้
        2.1 สิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม (Concrete Environment) ได้แก่ บ้านเรือน ถนน สนามบิน เขื่อน โรงงาน วัด
        2.2 สิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม (Abstract Environment)ได้แก่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา กฎหมายระบบเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง เป็นต้น


วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

แปล เพลงChut Noon Ae By Kang Sung Min จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย


ทำไมหัวใจของฉันเต้นแรงจังเลย
ทำไมความคิดของฉันจึงเลวร้ายเหลือเกิน
ฉันกำลังจะตาย
วันแล้ววันเล่า
ไม่รู้เลยว่าเมื่อไรมันจะจบลงสักที
ทำไมฉันถึงเดินทางไปโดยไม่มีจุดหมายที่แน่นอนเช่นนี้
ทำไมฉันจึงลังเลที่จะพูด ในสิ่งที่ฉันอยากจะพูด
ไม่ว่าสิ่งที่เป็นความรัก โชคชะตา  เหตุการณ์ในชีวิตแม้ ...
จะจางหายไปทั้งหมดในวันข้างหน้าของการจากลา
ฉันกลัวที่จะเสียคุณไป
กลัวที่จะเดินผ่านไปโดยไม่มีคุณ
โปรดอย่าปฏิเสธหัวใจของฉัน
ฉันถูกทำลายด้วยแรกพบของคุณ
นี้หัวใจของฉันทำอะไรไม่ถูกเลย
เหมือนคนโง่เง่า
ทำให้คนร้องไห้คร่ำครวญ
ทำไมมันจึงจะเริ่มค่อยๆจางหายไป
ทำไมหัวใจของฉันจึงทรมานมากขึ้น น้ำตาล่วงไหลในขณะที่ฉันถอนหายใจลึกอย่างเจ็บปวดรวดร้าว
มัน ก็ไร้ประโยชน์ในวันข้างหน้าของการจากลา
คุณเป็นเหมือนสายลมชั่วคราว ผ่านไปจากฉันโดยไม่มีร่องรอย
โปรดอย่าปฏิเสธหัวใจของฉัน
ฉันถูกทำลายด้วยแรกพบของคุณ
นี้หัวใจของฉันทำอะไรไม่ถูกเลย

ถ้าหิมะนี้เคยหยุด สิ่งที่เป็นความทรงจำ
หัวใจของฉันก็สามารถสงบลงได้
จะกระจายเหมือนหิมะลอย


 ความทรงจำของฉัน คุณจะล่องลอยไปไม่กลับเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล
ฉันจะจำมันไว้ในชีวิตต่อไปได้หรือไม่
ฉันถูกทำลายด้วยแรกพบของคุณ


เหมือนคนโง่เง่าหัวใจของฉันร่ำร้อง
ทำให้คนร้องไห้
เมื่อเวลาผ่านไป
หัวใจของฉันก็สามารถสงบลงได้
มันจะถูกฝังอยู่ในหิมะลึก
หัวใจของฉันยังคงเผาไหม้ด้วยความปรารถนา
ความทรงจำของฉันกับคุณ
จะเก็บไว้จนลมหายใจสุดท้ายของฉัน
มันจะถูกแกะสลักลึกลงไปในหัวใจของฉัน

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

google docs

google docs คืออะไร

April 2009 | By | Other | Tags : | อ่าน : 10595
Google docs logo
google docs คือโปรแกรมจัดการเอกสารออนไลน์ของ Google  แล้วถ้าถามว่า  โปรแกรมจัดการเอกสารมันคืออะไร ก็ให้นึกถึงโปรแกรมในชุด Microsoft Office (word exel powerpoint) นั่นแหละโปรแกรมจัดการเอกสารล่ะ แล้วถ้าถามต่อว่า โปรแกรมจัดการเอกสารออนไลน์ คำว่าออนไลน์คือยังไง

คำว่าออนไลน์ ก็คือคุณไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมชุดนี้ไว้ในเครื่อง เพียงแค่คุณเปิด IE Firefox หรือ Safari แล้วเข้าไปยังเว็บไซต์ของ Google docs คุณก็สามารถ สร้าง แก้ไข เปิดอ่าน ได้เลย โดยตัวเอกสารนั้นก็จะถูกเก็บไว้ในเซิฟเวอร์ของ Google
ผมจะลองลิสต์คุณสมบัติคร่าวๆ ให้ดูละกันนะครับ
1.ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม
2.ใช้งานง่าย เหมือนใช้ Office บนเครื่องของเรายังไงยังงั้น
3.แชร์เอกสารได้ โดยไม่ต้องส่งเอกสารไปทางอีเมล์หรือก้อปปี้ใส่ thumbdrive
4.ทำงานบนเอกสารชิ้นเดียวกัน ขณะเดียวกัน ได้คราวละหลายคน ซึ่งแต่ละคนสามารถเห็นว่าอีกฝ่ายกำลังพิมพ์อะไรอยู่
5.ฯลฯ
ตอนผมได้รู้จัก Google docs และทดลองใช้ Spreadcheet เขาครั้งแรก ถึงกับอึ้งกินไปพักนึง โห… มันเขียนโปรแกรมยังไงของมัน ถึงทำได้ขนาดนี้
สำหรับการเข้าใช้งานนั้น ถ้าท่านมีแอคเค้าของ gmail อยู่แล้วท่านก็สามารถเข้าใช้งานได้เลยที่ http://docs.google.com ถ้าท่านยังไม่มีแอคเค้าของ gmail ให้ท่านไปสมัครขอก่อน
ลองดูหน้าตาพอเป็นน้ำจิ้มกันก่อนละกัน
หน้าหลัก เอกสารที่เราสร้างทั้งหมดเก็บที่นี่

Word

Exel

Powerpoint

ส่วนวิธีการใช้งานนั้นแต่ละโปรแกรมนั้น ท่านแค่นึกถึง Office เข้าไว้ ท่านก็น่าจะเข้าใจการทำงานของมันได้ เกือบร้อยเปอร์เซ้นต์แล้ว
บทความที่ท่านอื่นๆ ได้เขียนไว้เกี่ยวกับ Google docs
1. มาใช้ Google Docs กันเถอะ
2. ทำรายงานกลุ่มแบบออนไลน์กับ Google Doc # 01
3. Google docs help

บทความน่าสนใจ

  1. สร้างโพลง่ายๆแต่ได้ใจด้วย google docs
  2. เรียนรู้ google map api
  3. google chrome เปิดใช้งานคุณสมบัติ bookmark sync
  4. สร้างฟอร์มรับแจ้งลิ้งก์ตายด้วย google docs
  5. วิธีสมัคร google apps

ระบบฐานข้อมูล

ลำดับชั้นของข้อมูล(Hierarchical of Data)
          โดยทั่วไปข้อมูลจะอยู่ในลักษณะที่เป็นลำดับชั้นโดยเริ่มจากหน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กสุดที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการประมวลผล(bit) ไปจนถึงระบบฐานข้อมูลโดยสามารถเรียงลำดับชั้นของข้อมูลจากเล็กไปถึงขนาดใหญ่ได้ดังนี้ 

          บิต(Bit) คือ หน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุด ในแต่ละบิตจะเป็นตัวเลขในระบบเลขฐานสอง ประกอบด้วย 0 และ 1 ซึ่งนำมาใช้แทน ระหว่างสองสถานะ เช่น จริง-เท็จ เปิด-ปิด เป็นต้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานโดยการส่งกระแสไฟฟ้าเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะเป็น เปิด(on) หรือ ปิด(off),แรงดันไฟฟ้าสูง(High-voltage) หรือ แรงดันไฟฟ้าต่ำ(Low-voltage) จึงนำเลข 0 และ 1 มาแทนสถานะดังกล่าวในการประมวลผลในคอมพิวเตอร์

          ไบต์(Byte)หรืออักขระ(Character)คือการนำเอาบิตหลายๆบิตมาเรียงกันเป็นสายเพื่อแสดงแทนข้อมูล   แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์
เข้าใจเพียงเลข 0 และเลข 1 เท่านั้นถ้าต้องการให้คอมพิวเตอร์รูปจักอักขระตัวอักษร A,B….,Z จะต้องมีการเอาเลข 0 และเลข 1 มาเรียงต่อกันเป็นรหัสแทนอักขระ โดยปกติ 1 ตัวอักขระจะมีความยาว 8 บิต ซึ่งเท่ากับ 1 ไบต์ จำนวนบิตที่นำมาเรียงต่อกันเป็นไบต์นี้แตกต่างกันไปตามรหัสแทนข้อมูล รหัสแทนข้อมูลที่ใช้กันแพร่หลายมี 2 ระบบคือ รหัสเอบซีดิก (EBCDIC) และรหัสแอสกี (ASCII) ใช้ 8 บิต รวมกันเป็น 1 ไบต์ โดย 1 ไบต์ จะใช้แทนอักขระ 1 ตัว

          เขตข้อมูล(Field)คือกลุ่มของอักขระที่สัมพันธ์กันตั้งแต่1ตัวขึ้นไปที่นำมารวมกันแล้วแสดงลักษณะหรือความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่างของเขตข้อมูล เช่น ชื่อ , ที่อยู่, หมายเลขบัตรประจำตัว เป็นต้น  เขตข้อมูลแต่ละเขตข้อมูลยังแยกออกเป็นประเภทข้อมูล  ซึ่งจะบ่งบอกว่าในเขตข้อมูลนั้นบรรจุข้อมูลประเภทใดไว้ สามารถแยกประเภทของเขตข้อมูลได้เป็น 3 ประเภท ตัวอย่างของเขตข้อมูล เช่น ชื่อ , ที่อยู่, หมายเลขบัตรประจำตัว เป็นต้น

          ระเบียน(Record) เป็นกลุ่มของเขตข้อมูลที่สัมพันธ์กัน ตัวอย่างของระเบียน เช่น ชื่อและที่อยู่และหมายเลขบัตรประจำตัว เป็นต้น

          แฟ้ม(File)เป็นกลุ่มของระเบียนที่สัมพันธ์กันตัวอย่างของแฟ้มเช่นข้อมูลของพนักงานทุกคนที่ทำงานในแผนกเดียวกันของบริษัท
ที่ประกอบด้วยชื่อ, ที่อยู่ และหมายเลขประจำตัวของพนักงานทุกคน เป็นต้น

          ฐานข้อมูล(Database)เป็นกลุ่มของแฟ้มข้อมูลที่สัมพันธ์กันตัวอย่างเช่นฐานข้อมูลของบริษัท ประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลของ
พนักงานทั้งพนักงานเก่าและพนักงานที่ทำงานอยู่ในปัจจุบันในทุกแผนกของบริษัท ซึ่งพนักงานแต่ละคนก็จะเกี่ยวข้องกับแฟ้มต่าง ๆ
เช่น การจ่ายเงินเดือน , เงินบำเหน็จบำนาญ เป็นต้น ฐานข้อมูลมีทั้งฐานข้อมูลขนาดเล็กที่เก็บและใช้งานบนเครื่อง
คอมพิวเตอร์ส่วนตัว ไปจนถึงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เป็นแบบออนไลน์(online)

         
 รู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูล
                   (Introduction to Database)
 
ระบบแฟ้มข้อมูล(File System)
          การจัดเก็บข้อมูลด้วยระบบแฟ้มข้อมูลเป็นรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลแบบดั้งเดิมที่นิยมใช้กันเมื่อคอมพิวเตอร์ถูกใช้เป็นเครื่องมือใน
การจัดเก็บและประมวลผลสารสนเทศในยุคเริ่มต้น  การศึกษารูปแบบการประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูลจะทำให้เห็นถึงข้อบกพร่องต่างๆ ที่เป็นสาเหตุให้การจัดเก็บข้อมูลแบบฐานข้อมูลได้รับความนิยมขึ้นมาแทนที่การจัดเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูล

ข้อจำกัดของการประมวลผลแบบแฟ้มข้อมู

          
ในการประมวลผลข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูลก่อให้เกิดข้อจำกัดในการปัญหาด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ข้อมูลถูกแบ่งและแยกไว้คนละไฟล์

          เมื่อข้อมูลถูกแบ่งและแยกให้อยู่คนละไฟล์ การเข้าถึงข้อมูลจึงเป็นไปได้ยาก  ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราต้องการแสดงรายการบ้าน
ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า อันดับแรกต้องทำการสร้างแฟ้มชั่วคราวซึ่งมีข้อมูลลูกค้าที่มีความต้องการสิ่งปลูกสร้างประเภท”บ้าน”
โดยดึงข้อมูลมาจากแฟ้มลูกค้าที่ต้องการเช่า หลังจากนั้นทำการค้นหาข้อมูลสิ่งปลูกสร้างประเภท”บ้าน”ในแฟ้มสิ่งปลูกสร้างที่ให้เช่า
และมีค่าเช่า/เดือนไม่เกินค่าเช่าสูงสุดที่ลูกค้ากำหนด สำหรับระบบแฟ้มข้อมูลนี้ทำให้การประมวลผลดังกล่าวทำได้ยาก  ผู้พัฒนาโปรแกรมต้องประมวลผลแฟ้มข้อมูลจากทั้งสองแฟ้มในเวลาเดียวกันและคำนึงถึงความถูกต้องของข้อมูลด้วย 
ข้อมูลมีความซ้ำซ้อนกัน
          เนื่องจากแต่ละฝ่ายก็จะมีระบบแฟ้มข้อมูลที่ประมวลผลงานของตนเอง จึงทำให้ไม่สามารถควบคุมความซ้ำซ้อนของข้อมูลได
้  ยกตัวอย่างเช่น พิจารณารูปที่ 1.5 แฟ้มข้อมูลที่ใช้ในฝ่ายขาย และแฟ้มข้อมูลของฝ่ายประสานงาน  จะเห็นว่ามีแฟ้มสิ่งปลูกสร้างที่ให้เช่าและแฟ้มลูกค้าซ้ำซ้อนกันในทั้งฝ่ายขายและฝ่ายประสานงาน   การที่ไม่มีการควบคุมความซ้ำซ้อนของข้อมูลทำให้เกิด
มีความขึ้นต่อกันของข้อมูล
          โครงสร้างและการจัดเก็บข้อมูลของแฟ้มข้อมูลและรายการข้อมูลต่างๆถูกกำหนดไว้ในโปรแกรมประยุกต์  หมายความว่าการแก้ไขโครงสร้างแฟ้มข้อมูลทำได้ยาก  ตัวอย่างเช่น ต้องการเพิ่มขนาดข้อมูลของฟิลด์ “ที่อยู่” ของแฟ้มสิ่งปลูกสร้างที่ให้เช่า จากขนาด 50 ตัวอักษร ให้เพิ่มขึ้นเป็น 60 ตัวอักษร ซึ่งดูเหมือนเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ยาก แต่ในทางปฏิบัติแล้วมีขั้นตอนที่ยุ่งยากดังนี้
  • เปิดแฟ้มสิ่งปลูกสร้างขึ้นมาอ่าน
  • เปิดแฟ้มชั่วคราวเพื่อสร้างโครงสร้างใหม่
  • อ่านรายการข้อมูลจากแฟ้มต้นฉบับ  แปลงข้อมูลไปสู่โครงสร้างใหม่และเขียนข้อมูลลงในแฟ้มชั่วคราว  ทำซ้ำกันจนครบทุกรายการข้อมูลในแฟ้มต้นฉบับ
  • ลบแฟ้มข้อมูลสิ่งปลูกสร้างที่ให้เช่าซึ่งเป็นแฟ้มต้นฉบับ
  • เปลี่ยนชื่อแฟ้มชั่วคราวเป็น “สิ่งปลูกสร้างที่ให้เช่า” แทน

    รูปแบบข้อมูลไม่ตรงกัน
              เนื่องจากโครงสร้างข้อมูลจะถูกฝังไว้ในส่วนของโปรแกรมประยุกต์ ทำให้โครงสร้างแฟ้มข้อมูลขึ้นอยู่กับภาษาการ
    เขียนโปรแกรมของโปรแกรมประยุกต์  ตัวอย่างเช่น โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลที่สร้างด้วยภาษา COBOL ก็จะแตกต่างจากโครงสร้างแฟ้มที่สร้างด้วยภาษา C  จากโครงสร้างที่แตกต่างกันทำให้การใช้ข้อมูลร่วมกันทำได้ยาก

ฐานข้อมูล(Database)
          จากข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดจากการประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูลที่กล่าวไว้ในหัวข้อที่แล้ว เป็นผลมาจากปัจจัย 2 อย่างดังนี้
  1. การนิยามข้อมูลถูกฝังรวมไว้กับโปรแกรมประยุกต์ แทนที่จะถูกแยกเก็บไว้ต่างหากอย่างอิสระ
  2. ไม่มีการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลและการจัดการข้อมูล นอกเหนือจากที่กำหนดเอาไว้ในโปรแกรมประยุกต์
          เพื่อให้ประสิทธิภาพในการประมวลผลงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงมีการวิธีการใหม่ที่เรียกว่า ฐานข้อมูล(Database) ขึ้นมา  ในส่วนนี้จะกล่าวถึงความหมายของฐานข้อมูลและระบบการจัดการฐานข้อมูล(Database Management System : DBMS) และส่วนประกอบที่สำคัญในระบบการจัดการฐานข้อมูล
ระบบการจัดการฐานข้อมูล
          ระบบการจัดการฐานข้อมูล(Database Management System : DBMS) คือ ซอฟต์แวร์ที่ทำงานประสานกับผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถกำหนด สร้าง  บำรุงรักษา และควบคุมการใช้งานข้อมูลในฐานข้อมูล  โดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้
  • ผู้ใช้สามารถนิยามฐานข้อมูล ผ่านส่วนที่เรียกว่า “ภาษาในการนิยามข้อมูล(Data Definition  : DDL)” ซึ่งให้ผู้ใช้สามารถกำหนดชนิดข้อมูลและโครงสร้างและข้อกำหนดต่างๆ ให้กับข้อมูลที่จะเก็บในฐานข้อมูล
  • ผู้ใช้สามารถเพิ่ม  แก้ไข  ลบ  และค้นคืนข้อมูลจากฐานข้อมูลได้ ผ่านส่วนที่เรียกว่า “ภาษาในการจัดการข้อมูล(Data Manipulation Language : DML) เนื่องจากมีคลังส่วนกลางที่เก็บข้อมูลทั้งหมดและส่วนอธิบายข้อมูล ซึ่งทำให้ DML มีส่วนที่สามารถสอบถามข้อมูลจากฐานข้อมูลได้ เรียกว่า “ภาษาสอบถามข้อมูล(Query language)”   
  • สามารถควบคุมการเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูล เช่น
             ระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ผู้ที่ไม่มีสิทธ์เข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูล
             ระบบรักษาความคงสภาพ ซึ่งจะช่วยรักษาความต้องกันของข้อมูลที่เก็บไว้
             ระบบควบคุมภาวะพร้อมกัน ซึ่งจะยอมให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
             ระบบกู้คืนข้อมูล ซึ่งจะช่วยกู้ข้อมูลที่เสียหายจากความเสียหายที่เกิดจากซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ให้คงสภาพเดิม
             มีส่วนอธิบายข้อมูลในฐานข้อมูลที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้

    การประมวลผลด้วยฐานข้อมูล
 องค์ประกอบของการใช้งานระบบการจัดการฐานข้อมูล

          ในการใช้งานระบบการจัดการฐานข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 ส่วน ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ , ซอฟต์แวร์ , ข้อมูล ,ระเบียบวิธีการและบุคคลากร



ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานฐานข้อมูล
          ในส่วนนี้จะกล่าวถึงบทบาทหน้าที่ต่างๆ ของคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้งานฐานข้อมูล ซึ่งคน ถือเป็นองค์ประกอบส่วนที่ 5 แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ดังนี้

ผู้บริหารฐานข้อมูล(Database Administrator : DBA)         ผู้บริหารฐานข้อมูลมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการข้อมูลในฐานข้อมูล ประกอบด้วย การวางแผนฐานข้อมูล , พัฒนาและรักษามาตรฐาน , นโยบายและระเบียบวิธีการ และการออกแบบฐานข้อมูลระดับแนวคิด/ตรรกะ 
นอกจากนี้ยังมีหน้าที่จัดการฐานข้อมูลในระดับกายภาพ ประกอบด้วย การออกแบบและดำเนินการฐานข้อมูลในระดับกายภาพ ควบคุมความปลอดภัยและความคงสภาพ  บำรุงรักษาการทำงานของระบบ และรักษาประสิทธิภาพในการใช้งานโปรแกรมของผู้ใช้  จะเห็นได้ว่าผู้บริหารฐานข้อมูลต้องมีความรู้ในรายละเอียดของระบบการจัดการฐานข้อมูลที่ใช้และองค์ประกอบในการทำงาน

นักออกแบบฐานข้อมูล(Database Designer)
          
ในการออกแบบฐานข้อมูล เราสามารถแบ่งนักออกแบบฐานข้อมูลออกได้ 2 ประเภท ได้แก่ นักออกแบบฐานข้อมูลระดับตรรกะ และนักออกแบบฐานข้อมูลระดับกายภาพ

นักพัฒนาโปรแกรม(Application Developers)          นักพัฒนาโปรแกรมมีหน้าที่เขียนโปรแกรมตามที่นักวิเคราะห์ระบบ(System analyst) แต่ละโปรแกรมประกอบด้วยคำสั่งงานที่ม
ีการร้องขอให้ระบบการจัดการฐานข้อมูลประมวลผลที่อยู่ในฐานข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย การค้นคืนข้อมูล การเพิ่ม การปรับปรุง และการลบข้อมูล  โปรแกรมอาจเขียนด้วยภาษาการเขียนโปรแกรมยุคที่ 3 หรือ ยุคที่ 4

ผู้ใช้(End user)           ผู้ใช้มีส่วนเกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลในฐานะที่เป็นผู้ที่ใช้งานโปรแกรมประยุกต์เพื่อทำงานของตนเอง ซึ่งโปรแกรมนี้จะมีการทำงาน
ที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล

http://www.aegkaluk.ob.tc/lesson%201.html#b